3M – Aura™ 9320A+ FFP2
- หน้ากากป้องกันอนุภาค ปกป้องระบบหายใจจากฝุ่น ละออง และฟูมโลหะ
- พับแบบ 3 ชั้น ให้ความสบายในการใส่และพกพา
การเก็บรักษา
หน้ากากมีอายุเก็บรักษา 5 ปี นับจากวันผลิต วันหมดอายุของหน้ากากจะระบุไว้ที่บรรจุภัณฑ์ เพื่อ
ประสิทธิภาพสูงสุดของผลิตภัณฑ์ โปรดเก็บรักษาสินค้าไว้ในที่สะอาดและแห้ง ภายใต้อุณหภูมิระหว่าง -20°C ถึง
+25°C ความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 80%
วัสดุ
สายรัด (Strap) ผลิตจาก Polyisoprene
โฟมรองจมูก (Nose Foam) ผลิตจาก Polyurethane
แถบสันจมูก (Nose Clip) ผลิตจาก Aluminium
ตัวหน้ากาก (Filter) ผลิตจาก Polypropylene
**หน้ากากไม่มีส่วนประกอบที่ผลิตจากยางธรรมชาติ**
3M™ Aura™ Particulate Respirator
9300+ Series
ลักษณะทั่วไป
หน้ากากป้องกันอนุภาค 3M Aura Disposable Respirator
ให้ความสบายในการสวมใส่ตัวยรูปแบบที่แนบกระชับกับใบหน้า ใช้สำหรับปกป้องระบบหายใจจากฝุ่น ละออง และอนุภาคอันตรายซึ่งปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ น้ำหนักเบา สวมใส่สบาย
ลักษณะจำเพาะ
- ผ่านการทดสอบและได้รับการรับรองตามมาตรฐานยุโรป EN 149 2001+A1:2009
- หน้ากากแบบพับ 3 ชิ้น ด้วยดีไซน์ลิขสิทธ์เฉพาะของ 3M ให้ความแนบกระชับและความสบายกับผู้สวม
ใส่ขณะพูดหรือเคลื่อนไหวใบหน้า - เทคโนโลยีการผลิตเส้นไยที่มีค่าการต้นทานการหายใจต่ำ ซึ่งมีประสิทธิภาพการกรองสูง แต่มีค่า
การต้านทานการหายใจต่ำ จึงหายใจได้โล่งสบายยิ่งกว่า - มีแถบโลหะบริเวณสันจมูกสำหรับปรับให้กระชับกับรูปจมูก พร้อมโฟมบุดันในขนาดใหญ่
ชนิดนุ่มและเรียบพิเศษ ให้ความรู้สึกสบายในการสวมใส่ - Embossed Top Panel เทคโนโลยีการเชื่อมติดของชิ้นหน้กากแบบใหม่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการระบายลมหายใจออกและความร้อนที่สะสมภายในออก และลดการเกิดฝ้ที่แว่นตาหรือครอบตา
นิรภัยได้เป็นอย่างดี - ลิ้นระบายลมหายใจออก 3M Cool Flow Exhalation Valve ช่วยเพิ่มความสบายในการสวมใส่
ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนและความชื้น - Sculpted Nose Panel หน้ากากออกแบบให้โค้งเข้ารูปไปตามร่องจมูก และโหนกแก้ม เพิ่มทัศนวิสัยใน
การมองเห็นขณะสวมใส่หน้ากาก และสวมใส่ร่วมกับแว่นตานิรภัยได้อย่างแนบกระชับ - มีแถบรองใต้คาง (Chin Tab) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกในการสวมใส่ จัดและปรับตำแหน่ง
หน้ากาก - บรรจุหน้ากากแยกเป็นชิ้นในถุงพลาสติกบรจุภัณฑ์ ช่วยเก็บรักษาหน้ากากจากการปนเปื้อนของ
ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่งๆ ก่อนเปิดใช้งาน - ผู้จำหน่ายมีบริการจัดฝึกอบรมวิธีการใช้งาน รวมทั้งทำการทดสอบความกระชับ (Fit Test) ของ
อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจอย่างถูกต้องตามหลักการ
น้ำหนักหน้ากาก
ไม่มีวาล์ว Unvalved (9310+, 9320+, 9330+) = 10 กรัม
มีวาล์ว Valved (9312+, 9322+, 9332+) = 15 กรัม
รุ่นของหน้ากาก
หน้ากากกรองอากาศ (Respirators) สำหรับป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10
1.การเลือกหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10
หน้ากากสำหรับการป้องกันอนุภาคขนาดเล็กที่มีขนาดน้อยกว่า 10 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าสู่ระบบหายใจของมนุษย์ได้ หลายท่านอาจเลือกใช้หน้ากากอนามัย (Surgical masks) หรือ หน้ากากสวมสบาย (Comfort masks) แต่ในความเป็นจริงแล้ว หน้ากากสำหรับลดการรับสัมผัสอนุภาคปนเปื้อนในอากาศ อาทิ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5, PM 10 รวมถึงเชื้อก่อโรค SARS, Avian Flu, Influenza Virus, Ebola Virus เป็นต้น ควรเลือกใช้หน้ากากกรองอากาศ (Respirators) ที่มีความแนบกระชับกับใบหน้า เพื่อประสิทธิภาพในการกรองอากาศและลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคจากอนุภาคปนเปื้อนในอากาศชนิดต่างๆ
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหน้ากากกรองอากาศ (Respirators) และหน้ากากอนามัย (Surgical masks) คือ วัตถุประสงค์ในการใช้งาน หน้ากากกรองอากาศ ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดการรับสัมผัสสารปนเปื้อนในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง อนุภาค แก๊ส หรือไอระเหย หน้ากากรองอากาศสำหรับกรองอนุภาค (Particulate respirator) จะช่วยลดการรับสัมผัสอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ระบบหายใจได้ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 100 ไมครอน (100 mm) รวมถึงอนุภาคในอากาศที่ปนเปื้อนสารชีวภาพต่างๆ เช่น เชื้อรา, Bacillus anthracis (แบคทีเรียก่อโรคแอนแทรกซ์), Mycobacterium tuberculosis (แบคทีเรียก่อโรควัณโรค), ไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS), ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นต้น
ความแนบกระชับกับใบหน้าเป็นอีกความแตกต่างที่สำคัญ หน้ากากกรองอากาศ ถูกออกแบบให้แนบกระชับกับใบหน้าของผู้สวมใส่ ดังนั้น อากาศที่หายใจเข้าไปจึงผ่านชั้นกรองของหน้ากากและไม่รั่วตามช่องว่างระหว่างหน้ากากกับใบหน้าผู้สวมใส่
หน้ากากอนามัยไม่มีความเพียงพอทั้งในด้านประสิทธิภาพการกรองหรือความแนบกระชับที่เหมาะสมสำหรับปกป้องระบบหายใจให้กับผู้สวมใส่ หน้ากากอนามัยถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของอนุภาคขนาดใหญ่จากผู้สวมใส่หน้ากาก (เช่น น้ำลาย น้ำมูก) ไปสู่บรรยากาศโดยรอบ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือในบริเวณปลอดเชื้อ รวมถึงอาจใช้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากการกระเด็นหรือละอองของเลือด, ของเหลวในร่างกาย (Body fluid), สารคัดหลั่ง (Secretion) และของเสียจากการขับถ่าย (Excretion) เข้าสู่ปากและจมูกของผู้สวมใส่
หน้ากากอนามัย ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้แนบกระชับกับใบหน้าเนื่องจากวัตถุประสงค์ในการใช้งานคือ ช่วยดักอนุภาคขนาดใหญ่จากผู้สวมใส่ไปสู่ภายนอก และช่วยลดความเสี่ยงในการรับสัมผัสละอองหรือหยดของเหลวที่กระเด็นจากบุคคลอื่นมายังผู้สวมใส่ ดังนั้น ขณะสวมใส่ระหว่างหายใจเข้าจึงมีอากาศจำนวนมากสามารถไหลผ่านช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากากอนามัยได้
สำหรับกรณีของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ปนเปื้อนในอากาศเป็นปริมาณสูงนั้น โดยปกติวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดการรับสัมผัสมลพิษทางอากาศ คือพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสในช่วงเวลาที่มีปัญหามลพิษทางอากาศ ได้แก่ อยู่ในบ้านพัก อาคาร หรือในพื้นที่ที่มีอากาศสะอาด และหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง แต่หากจำเป็นต้องออกไปทำกิจกรรมภายนอก ควรสวมหน้ากากกรองอากาศที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดการรับสัมผัส หน้ากากรองอากาศสำหรับกรองอนุภาค จะช่วยลดการรับสัมผัสอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ระบบหายใจได้ ประสิทธิภาพในการกรองอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง ควรเลือกหน้ากากที่มีผ่านมาตรฐานรับรอง และสวมใส่หน้ากากอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อความแนบกระชับกับใบหน้าและประสิทธิภาพในการกรองสูงสุด
2. มาตรฐานรับรองสำหรับหน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาค
มาตรฐานรับรองสำหรับหน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาค ที่ได้รับการยอมรับระดับนานาประเทศ ได้แก่ มาตรฐานอเมริกา (NIOSH Standard, NIOSH 42 CFR 84), มาตรฐานยุโรป (European Standard, EN 149), มาตรฐานออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (Australia/New Zeeland Standard, AS/NZS 1761) มีการแบ่งชั้นคุณภาพหรือประเภทชั้นกรองและประสิทธิภาพการกรอง ดังนี้
ตารางที่ 1 ประเภทชั้นกรองและประสิทธิภาพการกรองของหน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาค ตามมาตรฐานอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์
3.สรุปรายละเอียดความแตกต่างระหว่างหน้ากากกรองอากาศ หน้ากากอนามัย และหน้ากากชนิดสวมสบาย
ความแตกต่างของหน้ากากทั้ง 3 ประเภท การใช้งาน มาตรฐานรับรอง และความแนบกระชับ สรุปไว้ในตารางที่ 2 ดังนี้
ตารางที่ 2 ความแตกต่างระหว่างหน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาค หน้ากากอนามัย และหน้ากากชนิดสวมสบาย
4. ตัวอย่างรุ่นหน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาคสำหรับฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10
หน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาค 3M มีหลากหลายรุ่น รูปแบบ และมาตรฐาน ผู้ใช้สามารถเลือกได้โดยพิจารณาจากประสิทธิภาพการกรอง และรูปแบบต่างๆ ของหน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสบายขณะสวมใส่ ตัวอย่างรุ่นหน้ากากที่แนะนำพร้อมรายละเอียดแสดงในตารางที่ 3 และ 4 ดังนี้
ตารางที่ 3 รุ่นหน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาคสำหรับลดการรับสัมผัสฝุ่นละอองชนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10 (มาตรฐาน NIOSH สหรัฐอเมริกา)
ตารางที่ 4 รุ่นหน้ากากกรองอากาศชนิดกรองอนุภาคสำหรับลดการรับสัมผัสฝุ่นละอองชนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 10 (มาตรฐานยุโรปและมาตรฐานออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์)
เอกสารอ้างอิง
1. Respirators for protection against PM2.5
https://multimedia.3m.com/mws/media/1313143O/respirators-for-protection-agains.pdf
2. Respiratory Protection for Exposures to Particulate Air Pollution
http://multimedia.3m.com/mws/media/929854O/respiratory-protection-for-airborne-exposures.pdf
3. Key Differences Between Respirators and Masks
https://multimedia.3m.com/mws/media/956213O/differences-between-respirators-and-masks.pdf?fn=Respirator%20vs%20Surgical%20Mask%20flye
4. TDB 231: Respirators and Surgical Masks: A Comparison
http://multimedia.3m.com/mws/media/957730O/tdb-231-respirators-surgical-masks-pdf.pdf